เมนู

4. สามคามสูตร



ว่าด้วยนครนถ์แตกเป็น 2 พวกเพราะการตายของนิครนถ์นาฏบุตร



[51] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่หมู่บ้านสามคามสักกชนบท
ก็สมัยนั้น นิครนถ์นาฏบุตรตายลงใหม่ ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของ
นิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์แตกกันเป็น 2 พวก เกิดขัดใจทะเลาะ
วิวาทกัน เสียดสีกันและกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรา
รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เรา
ปฏิบัติถูก ของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน
ท่านพูดทีหลัง คำที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่ง
ของท่านกลายเป็นผิด แม้วาทะของท่าน ที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้
คำพูดหรือจงถอนคำพูดเสียถ้าสามารถ นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว ความ
ตายประการเดียวเท่านี้นั้นเป็นสำคัญเป็นไปในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร
แม้สาวกของนิครนถ์นาฏบุตรฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย
คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย
คลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด ให้รู้ผิด
ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่แตกไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้.
[52] ครั้งนั้นแล สมณุทเทสจุนทะ จำพรรษาที่เมืองปาวาแล้วเข้า
ไปยังบ้านสามคามหาท่านพระอานนท์ กราบท่านพระอานนท์แล้วนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นิครนถ์นาฏบุตรตายลงใหม่ ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตาย

ของนิครนถ์นาฏบุตรนั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกันเป็น 2 พวก เกิดขัดใจ
ทะเลาะวิวาทกันเสียดสีกันด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่ว
ถึงธรรมวินัยนี้ ไฉนท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก
ของเรามีประโยชน์ ของท่านไม่มีประโยชน์ คำที่ควรพูดก่อน ท่านพูดทีหลัง
คำที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดก่อน ข้อปฏิบัติที่เคยชินอย่างดียิ่งของท่านกลาย
เป็นผิด แม้วาทะของท่านที่ยกขึ้นมา เราก็ข่มได้ ท่านจงเที่ยวแก้คำพูด
หรือจงถอนคำพูดเสีย ถ้าสามารถ นิครนถ์เหล่านั้นทะเลาะกันแล้ว ความตาย
ประการเดียวเท่านั้นเป็นสำคัญ เป็นไปในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฎบุตร
แม้สาวกของนิครนถ์นาฏบุตร ฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อ
หน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร ดุจว่า
เบื่อหน่าย คลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด
ให้รู้ผิด ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่แตกไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้ เมื่อ
สมณุทเทสจุนทะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกล่าวดังนี้ว่า ท่าน
จุนทะ เรื่องนี้ มีเค้าพอจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ มาเถิด เราทั้งสอง
จักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
สมณุทเทสจุนทะรับคำท่านพระอานนท์แล้ว.
[53] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์และสมณุทเทสจุนทะ เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง. ท่านพระอานนท์พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ดังนี้ ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมณุทเทสจุนทะนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ
นิครนถ์นาฏบุตรตายลงใหม่ ๆ ที่เมืองปาวา เพราะการตายของนิครนถ์นาฏบุตร
นั้น พวกนิครนถ์จึงแตกกันเป็น 2 พวก เกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันเสียดสีกัน
ด้วยฝีปากอยู่ว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ฯลฯ

แม้สาวกของนิครนถ์นาฏบุตรฝ่ายคฤหัสถ์ ผู้นุ่งขาวห่มขาว ก็เป็นผู้เบื่อหน่าย
คลายยินดี มีใจถอยกลับในพวกนิครนถ์ศิษย์นิครนถ์นาฏบุตร ดุจว่าเบื่อหน่าย
คลายยินดี มีใจถอยกลับ ในธรรมวินัยที่นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวผิด ให้รู้ผิด
ไม่ใช่นำออกจากทุกข์ ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ มิใช่ธรรมวินัยที่พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าให้รู้ทั่ว เป็นสถูปที่แตกไม่เป็นที่พึ่งอาศัยได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า สมัยเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไป ความ
วิวาทอย่าได้เกิดขึ้นในสงฆ์เลย ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก
ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความ
ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.
[54] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญ
ความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่าใด อันเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลายด้วยความ
รู้ยิ่ง คือ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5
โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 ดูก่อนอานนท์ เธอจะยังเห็นภิกษุของเรา
แม้สองรูป มีวาทะต่างกันได้ในธรรมเหล่านี้หรือ
ท่านพระอานนท์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่าใด อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายด้วยความรู้ยิ่ง คือ
สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7
อริยมรรคมีองค์ 8 ข้าพระองค์ยังไม่เห็นภิกษุแม้สองรูป มีวาทะต่างกันใน
ธรรมเหล่านี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีได้แลที่บุคคลทั้งหลายผู้อาศัยพระผู้มี
พระภาคเจ้าอยู่นั้น พอสมัยพระผู้มีพระภาคเจ้าล่วงลับไป จะพึงก่อวิวาทให้
เกิดในสงฆ์ได้ เพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือปาติโมกข์อันยิ่ง ความวิวาทนั้น
มีแค่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก
เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์.

พ. ดูก่อนอานนท์ ความวิวาทที่เกิดเพราะเหตุอาชีวะอันยิ่งหรือ
ปาติโมกข์อันยิ่งนั้นเล็กน้อย ส่วนความวิวาทอันเกิดในสงฆ์ ที่เกิดเพราะ
เหตุมรรคหรือปฏิปทา ความวิวาทนั้นมีแต่เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก ไม่ใช่สุข
ของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์.

มูลเหตุแห่งความวิวาท 6 อย่าง



[55] ดูก่อนอานนท์ มูลเหตุแห่งความวิวาทนี้มี 6 อย่าง 6 อย่าง
เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์
(1) ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธ ภิกษุที่
เป็นผู้มักโกรธ มีความผูกโกรธนั้น ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง
แม้ในพระศาสดา แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้
บริบูรณ์ในสิกขา ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรง แม้ในพระศาสดา
แม้ในพระธรรม แม้ในพระสงฆ์อยู่ ทั้งไม่เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขานั้น
ย่อมก่อความวิวาทให้เกิดในสงฆ์ซึ่งเป็นความวิวาท มีเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก
ไม่ใช่สุขของชนมาก ไม่ใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อความ
ทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ดูก่อนอานนท์ ถ้าหากพวกเธอพิจารณาเห็นมูลเหตุ
แห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงพยายามละมูลเหตุ
แห่งความวิวาทอันลามกนั้นเสียในที่นั้น ถ้าพวกเธอพิจารณาไม่เห็นมูลเหตุ
แห่งความวิวาทเช่นนี้ในภายในหรือในภายนอก พวกเธอพึงปฏิบัติไม่ให้มูลเหตุ
แห่งความวิวาทอันลามกนั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้น การละมูลเหตุแห่งความ
วิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุ
แห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้.
[56] ดูก่อนอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก